Приложение временно недоступно
Скачивания
Доход

Описание

สร้างขึ้นเพื่อให้ชาวเชียงใหม่ได้รับรู้คุณภาพอากาศ ในทุกอำเภอทั้งแบบเวลาจริงทุกนาที ชั่วโมง และแบบค่าเฉลี่ยใน 24 ชม.ที่ผ่านมา พร้อมคำอธิบายระดับดัชนีคุณภาพอากาศ และคำเตือนเพื่อลดความเสี่ยงจากผลกระทบของมลพิษอากาศต่อสุขภาพชาวเชียงใหม่ จากความร่วมมือของหลายภาคส่วนโดยมีที่มาตามลำดับเวลาดังนี้
1. กลุ่มแพทย์ พยาบาล นักวิชาการ และผู้สนใจศึกษาเรื่องคุณภาพอากาศกลุ่มเล็กๆ ในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้รวมตัวกันพูดคุย แลกเปลี่ยนความรู้ ความเห็นกันในไลน์กลุ่ม Suandok Air Alert จากไม่ถึง 10 ท่านจนปัจจุบันมีผู้สนใจเข้าร่วมเกือบ 200 ท่าน โดยปรึกษากันถึงผลกระทบต่อสุขภาพของฝุ่นละอองขนาดจิ๋ว (PM2.5) ที่มีความเข้มข้นในอากาศสูงในช่วงฤดูหมอกควันในจังหวัดเชียงใหม่ที่เกิดจากการเผาเกษตรในภาคเหนือตอนบน เมียนม่าร์ ลาว และจีนตอนล่าง
2. ในกลุ่มมีความเห็นร่วมกันว่าภาครัฐโดยกรมควบคุมมลพิษ ให้คำแนะนำแก่ประชาชนในการป้องกันตนจากปัญหาหมอกควันที่ผ่านมาไม่ถูกต้องเท่าที่ควร ทำให้อาจเกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชนชาวเชียงใหม่ได้ เนื่องจากกรมฯ แจ้งดัชนีคุณภาพอากาศโดยใช้ค่าเฉลี่ยรายวันและรายปีเฉพาะค่า PM10 ซึ่งไม่สามารถสะท้อนระดับมลพิษได้ดีเท่า PM2.5 แม้สถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศที่จังหวัดเชียงใหม่สามารถวัดค่า PM2.5 ได้มาหลายปีแล้วก็ตาม ยิ่งไปกว่านั้นยังใช้ค่า PM10 ในการแบ่งระดับดัชนีคุณภาพอากาศที่สูงกว่าที่องค์การอนามัยโลกแนะนำกว่า 2 เท่า (ค่าเฉลี่ยรายวันกรมฯใช้ค่า PM10 120 มคก./ลบม. ในขณะที่องค์การอนามัยโลกใช้ ค่า 50 มคก./ลบม. ส่วนค่าเฉลี่ยรายปี กรมฯ ใช้ค่า 50 มคก./ลบม. ในขณะที่องค์การอนามัยโลกใช้ค่า 20 มคก./ลบม.) นอกจากนี้กรมฯ ประกาศเตือนแก่สาธารณะโดยใช้ข้อมูลย้อนหลัง 24 ชม. เพียงวันละ 1 ครั้ง ซึ่งไม่เพียงพอที่ประชาชนจะนำไปใช้ลดความเสี่ยงในการดำเนินกิจกรรมประจำวันได้ เพราะค่าดัชนีคุณภาพอากาศมีความแปรปรวนระหว่างวันสูง
3. ทางกลุ่มเห็นว่าสมควรนำค่าดัชนีคุณภาพอากาศของประเทศสหรัฐอเมริกา (The United States Environmental Protection Agency หรือ EPA) มาใช้เนื่องจากมีหลักฐานเชิงวิชาการกำกับชัดเจนและมีหลายประเทศนำไปใช้ ศ. ขวัญชัย ศุภรัตน์ภิญโญและทีมงาน IT ของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จึงดำริให้จัดทำเวบไซต์ www.cmaqhi.org ขึ้นโดยนำข้อมูล PM2.5 ของ รศ. ดร. พิศิษฐ์ สิงห์ใจ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งดำเนินการติดตั้งจุดตรวจวัดแบบ realtime ขึ้นหลายจุดในจังหวัดเชียงใหม่ และในปีแรกได้รับข้อมูลคุณภาพอากาศจาก ศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change Data Center) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อให้สามารถแสดงข้อมูลคุณภาพอากาศได้ครอบคลุมทุกอำเภอในจังหวัดเชียงใหม่อย่างทั่วถึง
4. ในวันที่ 2 เมษายน 2561 ศ. นพ. ชายชาญ โพธิรัตน์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้เป็นตัวแทนไปให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับผลกระทบของมลพิษหมอกควันต่อสุขภาพชาวเชียงใหม่ และมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก ระดับดัชนีคุณภาพอากาศที่มีมาตรฐานสากล พร้อมคำแนะนำในการเตือนประชาชนที่เหมาะสมแก่ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ และทีมงานที่ร่วมประชุมติดตามสถานการณ์เพื่อแก้ไขปัญหาหมอกควันในจังหวัด และได้รับคำชี้แนะจากที่ประชุมขอให้เว็บไซต์ www.cmaqhi.org เตือนด้วย 2 ดัชนีคุณภาพอากาศ ทั้งดัชนีที่คำนวณจากค่า PM10 และค่า PM2.5 เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องในช่วงระยะเวลาเปลี่ยนผ่านและเพื่อป้องกันความสับสน โดยจะพยายามสร้างความรู้ความเข้าใจและความตระหนักเกี่ยวกับค่า PM2.5 ให้สังคมรับทราบอย่างกว้างขวางมากขึ้น
5. เมื่อทางจังหวัดนำโดยท่านผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ และตัวแทนของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ประสานงานกันจนได้ข้อสรุปร่วมกัน ในการเริ่มประกาศใช้ดัชนีคุณภาพอากาศเพื่อสุขภาพชาวเชียงใหม่ในวันที่ 12 เมษายน 2561 เป็นต้นมา
6. ในปี พ.ศ. 2562 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้สนับสนุนงบประมาณในโครงการ "คืนลมหายใจบริสุทธ์ให้ชาวเชียงใหม่" ในการติดตั้งเครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศที่ใช้เซนเซอร์ขนาดเล็กให้ครบ 205 ตำบลทั่วจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อสร้างเครือข่ายระบบเฝ้าระวังและแจ้งเตือนประชาชนจากผลกระทบของปัญหาหมอกควันต่อสุขภาพอย่างทั่วถึงทั้งในเขตเมืองและชนบทเป็นจังหวัดแรกในประเทศไทย
เดือนกุมภาพันธ์ 2562 ได้รับความอนุเคราะห์จาก รศ. ดร. พานิช อินต๊ะ หัวหน้าหน่วยวิจัยสนามไฟฟ้าประยุกต์ในงานวิศวกรรม (RUEE) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ดอยสะเก็ด​ให้นำเครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศด้วยเซนเซอร์ขนาดเล็กไปวัดเปรียบเทียบกับเครื่องวัดมาตรฐาน​ teom1405f ที่ได้รับการรับรองคุณภาพจาก​ US EPA และ รศ. ดร. พิศิษฐ์นำค่าความชื้นสัมพัทธ์มาปรับค่าของเครื่องวัด​ให้ได้ผลการวัดเปรียบเทียบใกล้เคียง​กับเครื่องวัดมาตรฐาน​
Скрыть Показать больше...

Скриншоты

CMAQHI Частые Вопросы

  • Приложение CMAQHI бесплатное?

    Да, CMAQHI полностью бесплатное и не содержит встроенных покупок или подписок.

  • Является ли CMAQHI фейковым или мошенническим?

    Недостаточно отзывов для надежной оценки. Приложению нужно больше отзывов пользователей.

    Спасибо за ваш голос

  • Сколько стоит CMAQHI?

    Приложение CMAQHI бесплатное.

  • Сколько зарабатывает CMAQHI?

    Чтобы получить оценку дохода приложения CMAQHI и другие данные AppStore, вы можете зарегистрироваться на платформе мобильной аналитики AppTail.

Оценки пользователей
Приложение еще не оценено в Германия.
История оценок

CMAQHI Отзывы Пользователей

Нет отзывов в Германия
Приложение пока не имеет отзывов в Германия.

CMAQHI Конкуренты

Name
Air4Thai
Thailand Air - คุณภาพอากาศไทย
Air Quality Index PM2.5
WATER4THAI
Rainmaking
N/A
AirVista
Air4U
AQIC
Air Quality Information Center
AirCMI
depa pm2.5
Air Visual | PM2.5
Air pollution AQI - PM2.5

CMAQHI Доходы и Загрузки

Получите ценные инсайты о производительности CMAQHI с помощью нашей аналитики.
Зарегистрируйтесь сейчас, чтобы получить доступ к статистика загрузок и доходов и многому другому.

Информация о приложении

Категория
Weather
Языки
English
Последнее обновление
1.0.3 (4 года назад )
Выпущено
Mar 5, 2020 (4 года назад )
Обновлено
1 год назад
This page includes copyrighted content from third parties, shared solely for commentary and research in accordance with fair use under applicable copyright laws. All trademarks, including product, service, and company names or logos, remain the property of their respective owners. Their use here falls under nominative fair use as outlined by trademark laws and does not suggest any affiliation with or endorsement by the trademark holders.